ลิง

สุดจัด ลิงแสมในอินโด ใช้ก้อนหิน เป็น “เซ็กส์ทอย”

จากผลงานวิจัยชิ้นล่าสุดที่พึ่งค้นพบ ว่าในอินโดนิเซีย มีลิงแซม ใช้เซ็กส์ทอย ที่ทำจากหิน ซึ่งเป็นการสนับสนุนสมมติฐาน ก่อนหน้านี้ได้ดีเลยว่า ลิงแสมนั้นมีพฤติกรรมในการใช้ หินเป็นอุปกรณ์ ในการสำเค็จความใคร่ของตัวเอง พฤติกรรมนี้เป็นเหมือนวัฒนธรรม ซึ่งทีมนักวิจัย มหาวิทยาลัยเลธบริดจ์ พบเจอพฤติกรรมนี้ แค่ฝูงบนเกาะบาลีเท่านั้น

โดยทั้งนี้พบว่า ลิงแสมผูงนี้นั้น ได้ใช้หินก้อนถูไถ และเขี่ยกับอวัยวะสืบพันธุ์ ของตัวเอง เพื่อสร้างความสุข และหลักฐานเหล่านี้ ทีทีมนักวิจัยพบเจอได้สนับสนุน สมมติฐานก่อนหน้านี้ ที่ว่าด้วยพฤติกรรมดังกล่าว เป็นการสำเร็จความไคร่อย่างหนึ่ง โดยการใช้เครื่องมือของลิง และเหล่านักวิจัยยังค้นพบอีกว่า ในกลุ่มวัยต่างๆ ไม่ว่าเพศหญิงหรือชาย ลิงพวกนี้ ล้วนใช้ก้อนหินมาเป็นเซ็กทอย

แต่จะมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไป โดยลิงเพศเมียจะช่างเลือกหินที่จะใช้มากกว่าลิงเพศผู้ ส่วนลิงเพศผู้อายุน้อยเป็นกลุ่มที่แสดงพฤติกรรมนี้บ่อยที่สุด ขณะที่ลิงเพศผู้โตเต็มวัยจะแสดงพฤติกรรมนี้น้อยที่สุด นักวิจัยชี้ว่าอาจเป็นเพราะพวกมันสามารถทำกิจกรรมทางเพศกับลิงเพศเมียโตเต็มวัยในฝูงได้

ลิง
นักวิจัยบอกว่า พวกเขาไม่ต้องใช้เวลานานกว่าที่จะได้เห็นลิงทำกิจกรรมนี้

คามิลลิ เคนนี หนึ่งในทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเลธบริดจ์ ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ข่าววิทยาศาสตร์ Live Science ว่า “คุณจะได้เห็นการใช้หินถูไถอวัยวะเพศเช่นนี้ค่อนข้างบ่อย…แน่นอนว่าพวกมันไม่ได้ทำกันตลอดเวลา แต่หากคุณลองสังเกตดู พอพวกมันเริ่มเล่นก้อนหิน พวกมันก็น่าจะแสดงพฤติกรรมนี้ให้เห็น”

เคนนี ระบุว่า ลิงบางกลุ่มมักมีพฤติกรรมการใช้ก้อนหินเป็นเครื่องมืออยู่แล้วตามธรรมชาติ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นการเล่นรูปแบบหนึ่ง โดยที่พวกมันจะถือก้อนหินติดตัวไปไหนมาไหนด้วย อย่างไรก็ตามเธอชี้ว่า พฤติกรรมการใช้หิน เพื่อสร้างความสุขทางเพศนั้น น่าจะเกิดมาจากการที่ลิงมักใช้หินเป็นเครื่องมือ เพื่อการดำรงชีพในชีวิตประจำวัน

โดยพฤติกรรมที่พบในลิงแสม บนเกาะบาหลีเป็นเหมือนวัฒนธรรม เพราะพบเฉพาะในประชากรลิงกลุ่มเดียวเท่านั้น “เวลาที่เราพูดถึงเครื่องมือที่สัตว์ใช้ เรามักคิดถึงการใช้เพื่อดำรงชีวิต ยกตัวอย่างเช่น ลิงชิมแปนซีใช้ก้อนหินในการกะเทาะเปลือกถั่วเพื่อให้สามารถกินถั่วเปลือกแข็งได้” เคนนี อธิบาย

อย่างไรก็ตาม “มีงานวิจัยเพิ่มขึ้นที่บ่งชี้ว่าพฤติกรรมการใช้เครื่องมือไม่จำเป็นต้องเป็นการใช้เพื่อการดำรงชีวิตเท่านั้น และนี่ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ชัดเจน” เธอกล่าว ลิงที่ทีมนักวิจัยเฝ้าสังเกตพฤติกรรมนี้ เป็นลิงที่อาศัยในเขตเมืองรอบ ๆ อุทยานลิงศักดิ์สิทธิ์ (Sacred Monkey Forest Sanctuary) ในเมืองอูบุด บนเกาะบาหลี

ลิงเหล่านี้อาศัยอยู่อย่างอิสระ และได้รับอาหารจากนักท่องเที่ยวหรือชาวบ้านในแถบนั้น ทีมนักวิจัยชี้ว่าการได้อาหารจากมนุษย์อาจช่วยให้ลิงไม่ต้องคอยออกหาอาหารเอง ทำให้พวกมันมีเวลาว่างมากกว่าลิงกลุ่มอื่น ๆ แล้วเอาเวลานี้ไปกับการใช้ก้อนหินสร้างความสุขทางเพศให้ตัวเอง

5 เรื่องการเมืองที่คนเรียนรู้ได้จากชิมแปนซี

1. เก็บเพื่อนไว้ใกล้ ๆ แต่เก็บศัตรูไว้ให้ใกล้ยิ่งกว่า การเมืองของลิงชิมแปนซีคือเครือข่ายของพันธมิตรที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และการที่จะขึ้นสู่จุดสูงที่สุด คุณต้องพร้อมที่จะหันหลังให้เพื่อนแล้วอ้าแขนรับศัตรูได้เสมอ โดยการสร้างพันธมิตรที่ว่านี้ของชิมแปนซี ส่วนใหญ่มีขึ้นเพื่อความสะดวกสบาย ไม่ใช่เพื่อมิตรภาพ

2. การสร้างพันธมิตร จงเลือกคนที่อ่อนแอกว่า ไม่ใช่คนแข็งแกร่งกว่า ชิมแปนซีมักสร้าง “แนวร่วมเพื่อชัยชนะโดยมีสมาชิกน้อยที่สุด” (minimal winning coalitions) นั่นหมายความว่าลิงที่อ่อนแอ 2 ตัว จะรวมกลุ่มกันสู้กับลิงที่แข็งแรงกว่า 1 ตัว มากกว่าจะเป็นการจับกลุ่มกันระหว่างลิงอ่อนแอกับลิงที่แข็งแรง

ศ.ทิลลีย์ ชี้ว่า พฤติกรรมเช่นนี้ของลิงมีความสมเหตุสมผล เพราะหากลองคิดว่า ถ้าเราจับกลุ่มกับคนที่อ่อนแอ เราก็จะได้เปรียบกว่าเวลาที่ต้องแบ่งผลประโยชน์กันเมื่อเทียบกับการที่เราจับคู่กับคนที่แข็งแรงกว่า

3. การเป็นที่ยำเกรงเป็นเรื่องดี แต่จะยิ่งดีกว่าถ้าได้เป็นที่ชื่นชอบ จ่าฝูงลิงชิมแปนซีอาจเป็นตัวที่มีนิสัยน่ากลัวดุร้ายและควบคุมลิงในฝูงด้วยพละกำลัง แต่จ่าฝูงเหล่านี้มักอยู่ได้ไม่นาน การจะเป็นจ่าฝูงลิงชิมแปนซีที่ประสบความสำเร็จ จะต้องหาแรงสนับสนุนให้ตนเองและแนวร่วมจากลิงส่วนใหญ่ในฝูง และการเป็นผู้นำที่อ่อนโยนแต่หนักแน่นในคนเดียวกันถือเป็นกุญแจสำคัญของเรื่องนี้

4. การเป็นที่ชื่นชอบเป็นเรื่องดี แต่จะดียิ่งกว่าหากสามารถแจกจ่ายผลประโยชน์ให้สมาชิกในฝูง จ่าฝูงที่กุมอำนาจได้ยาวนานที่สุด คือตัวที่สามารถครอบครองทรัพยากรและใช้ทรัพยากรเหล่านั้นซื้อใจและการสนับสนุนจากสมาชิกในฝูง ในรายการวิทยุ In Analysis: Primate Politics ของบีบีซี เราได้ยินเรื่องเกี่ยวกับจ่าฝูงที่อยู่ในอำนาจได้นาน 12 ปี จากการแจกจ่ายเนื้อที่ล่ามาได้ให้แก่สมาชิกในฝูง

5. ภัยจากภายนอกอาจช่วยค้ำจุนการสนับสนุนภายในกลุ่ม (หากเป็นภัยจริง…) เมื่อเผชิญกับภัยคุกคามจากภายนอก ฝูงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะเกาะกลุ่มกันโดยที่ลืมความขัดแย้งที่เคยมีในอดีต แต่เป็นที่น่าสนใจว่าไม่มีหลักฐานมากนักที่สนับสนุนพฤติกรรมเช่นนี้ในมนุษย์ กรณีที่ผู้นำจงใจก่อสงครามขึ้นเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากปัญหาวุ่นวายภายในประเทศ เว้นเสียแต่เป็นภัยรุนแรงที่คาดไม่ถึง เช่น เหตุวินาศกรรม 9/11

ขอบคุณแหล่งที่มา : bbc.com

สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : matreiya.com